เมนู

2. อรรถกถาสามัญญผลสูตร



พระบาลีสามัญญผลสูตรว่า เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา ราชคเห
ดังนี้ เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้
บทว่า ราชคเห ความว่า ในพระนครซึ่งมีชื่ออย่างนั้น จริงอยู่
พระนครนั้น เรียกกันว่า ราชคฤห์ เพราะพระเจ้ามันธาตุราช และ
ท่านมหาโควินท์เป็นต้น ครอบครอง.
ก็ในคำว่า ราชคฤห์นี้มีนักปราชญ์อัน ๆ พรรณนาไว้มากมาย จะ
มีประโยชน์อะไร ด้วยคำเหล่านั้น เพราะคำนั้น เป็นเพียงชื่อของเมือง
เท่านั้น.
พระนครราชคฤห์นี้ เป็นเมืองทั้งในพุทธกาล ทั้งในจักรพรรดิ-
กาล ส่วนในกาลที่เหลือ เป็นเมืองร้าง พวกยักษ์ครอบครอง เป็นป่า
ที่อยู่อาศัยของยักษ์เหล่านั้น.
คำว่า วิหรติ นี้ ตามธรรมดาเป็นคำแสดงถึงความพร้อมเพรียงด้วย
วิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอิริยาบถวิหารทิพพวิหารพรหมวิหาร
และอริยวิหาร.
แต่ในที่นี้ แสดงถึงการยืน เดิน นั่ง นอน ซึ่งเป็นอิริยาบถที่
ผลัดเปลี่ยนกันเท่านั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จะประทับยืนก็ตาม
เสด็จดำเนินไปก็ตาม ประทับนั่งก็ตาม บรรทมก็ตาม พึงทราบว่ๆ วิหรติ
ประทับอยู่ ทั้งนั้น. ด้วยว่า พระองค์ทรงบำบัดความลำบากแห่งอิริยาบถหนึ่ง
ด้วยอิริยาบถหนึ่ง ทรงบริหารอัตตภาพมิให้ทรงลำบากพระวรกาย ฉะนั้น